พฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ในจังหวัดพังงา
พฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ในจังหวัดพังงา
Administration Behavior as Four Sublime States of Mind of Administrators as the Opinions of Teachers under Secondary Educational Service Area Office 14 in Phangnga Province
Name: วีณา คำคุ้ม
keyword: พรหมวิหาร 4
ThaSH: ผู้บริหารโรงเรียน -- จริยธรรม
Abstract: จากปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาส่วนหนึ่งที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ของสถานศึกษาโดยรวม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหาร ตามหลักพรหมวิหาร 4 และศึกษาแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ในจังหวัดพังงา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 479 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเทียบขนาดของเครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 214 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับดังนี้ ด้านมุทิตา ด้านเมตตา ด้านอุเบกขา และด้านกรุณา ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ผู้บริหารควรมีจรรยาบรรณต่อตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดี และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรมผู้บริหาร ควรทำหน้าที่ด้วยความเต็มใจ บริหารจัดการ ภายในโรงเรียนด้วยความซอื่ สัตย์สุจริตและมีความเสียสละ มีความเสมอภาค มีความยุติธรรม มีใจเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติด้วยความอคติ รักษาความสามัคคี ปฏิบัติต่อบุคลากรด้วยหลักการและเหตุผลมีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลและมีน้ำใจต่อบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
Abstract: The problem of moral and ethics of the school administrators was partly affected by the image of the educational institution. This research was aimed to study and compare the behaviors of four sublime states of mind, and to study the guideline for the promotion of administrative behaviors according to the four sublime states of mind of the school administrators. According to the opinions of teachers under Secondary Education Service Area Office 14, in Phangnga Province. The population consisted of 479 teachers. The sample size was set using the tables of Krejcie and Morgan 214 teachers by simple random sampling. Data were collected by using questionnaire with reliability of 0.99. Data were analyzed by using basic statistics: mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA. The research found that the administrative behaviors according to the four sublime states of mind of the school administrators were at a moderate level in all aspects. Sort by : Sympathetic joy, loving - kindness, equanimity and compassion. The results of the comparison of administrative behaviors according to the four sublime states of mind of the school administrators found that gender, education, work experience and school size there was a statistically significant difference at the .05 level. The guideline for promoting administrative behaviors according to the four sublime states of mind of the school administrators was that the administrators should have a code of ethics. Be a good role model and develop themselves to be virtuous. Should act with willingness. Organized within the school with honesty and sacrifice. Equality Have fairness, impartiality, no discrimination with prejudice. Maintain harmony to treat personnel with principles and rationales. Have a good relationship Helping and caring for the people in the school. To increase the efficiency of work.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. หอสมุดกลาง
วีณา คำคุ้ม (2560) พฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ในจังหวัดพังงา วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น